วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Green Marketing คืออะไร?

Green Marketing การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์สร้างจิตสำนึก
ในยุคที่พลังงานมีราคาแพง สภาพแวดล้อมเป็นพิษ การกำจัดขยะทำได้ยากขึ้นและบทบาทของพลาสติกเข้ามาแทนที่ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและเกิดกระแสสำนึกต่อสภาพแวดล้อม เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักการตลาดทั้งหลายต่างต้องแสวงหาโอกาสทางการตลาดเพื่อความเป็นผู้นำ สร้างนวัตกรรม ความแตกต่างทางการแข่งขัน
       
     นอกจากนั้นยังต้องมองหาเครื่องมือทางการตลาดที่คืนกำไรให้กับสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกว่าการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Marketing) แนวคิดนี้ ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงต้นทุนของ "คุณค่า" ในการเลือกใช้สินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธุรกิจต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและสภาพแวดล้อม การดำเนินงานทางการตลาดจึงต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ อย่างจริงจังมากขึ้น รวมทั้งยังต้องส่งเสริมสร้างสรรค์ให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวมยิ่งๆ ขึ้นไป
กลยุทธ์ Green Marketing มีหลักคิดอยู่ 7 ประการ
     1. ธุรกิจต้องทำการบ้านในเรื่องของสิ่งแวดล้อมใหม่ทั้งด้านข้อกฎหมาย การเมือง เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม            เรียกอีกอย่างว่าคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholders)
     2. การผลิตสินค้าต้องให้ได้คุณภาพทั้งตัวสินค้าและการขจัดสิ่งแวดล้อม
     3. ให้ทางเลือกแก่ประชาชนผู้บริโภคในการที่จะได้รับคุณค่าและคุณประโยชน์
     4. สร้างความน่าเชื่อถือทางการตลาด
     5. ดึงสมาคมชมรมสิ่งแวดล้อมมาร่วมมือกันพัฒนาและรับประกันคุณภาพ
     6. ทำการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจอันดีกับสังคมว่าธุรกิจมีการรักษา        
         สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้คุณค่าของบริษัทและสินค้าดีขึ้น
     7. อย่าเบื่อจนกว่าจะทำให้ "โลกสะอาด"

กรีนมาร์เก็ตติ้งกับส่วนประสมทางการตลาด
     แนวคิดกรีนมาร์เก็ตติ้งสามารถนำส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ ผลิตภัณฑ์ Product) ราคา (Price) การจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มาใช้เป็นเทคนิคทางการตลาดได้

      ในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตสินค้า คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือการลงทุนเพิ่มเพื่อปรับให้กระบวนการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอนทุกกระบวนการ ที่จะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือติดตั้งอุปกรณ์ในการป้องกันและขจัดของเสียที่เกิดจากการผลิต เช่น การติดตั้งและใช้งานเครื่องกรองอากาศขนาดใหญ่ เครื่องบำบัดน้ำเสีย    ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนแล้ว ยังจะลดของเสีย เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า
                   
     การผลิตสินค้าต้องเป็น “สินค้าสีเขียว” หมายถึง สินค้าที่ผลิตออกมานั้นสามารถย่อยสลายง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ หลังใช้ หรือทิ้ง เช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ ผลิตภัณฑ์ซักล้างที่ไม่ก่อมลพิษ เสื้อผ้าไม่ฟอกย้อม น้ำมันไร้สารตะกั่ว ตู้เย็น-เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟฟ้า
     ทางด้านราคา (Price) การตั้งราคาขึ้นอยู่กับว่ามูลค่าของสินค้าหรือบริการ ถ้ามีอรรถประโยชน์สูงจนทำให้สินค้ามีคุณค่าในสายตาของลูกค้าและต้องสูงเกินกว่าต้นทุนของผู้ซื้อ  อย่างไรก็ดี นักการตลาดต้องเข้าใจต้นทุนการผลิตกับต้นทุนสิ่งแวดล้อม หากมีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพก็จะก่อให้เกิดของเสียและมลพิษ ซึ่งจะกลายเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้วัตถุดิบ อันจะทำให้สินค้ามีราคาแพงจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้
                    
     การจัดจำหน่าย (Place)
 ต้องคำนึงถึงวิธีการเลือกการกระจายสินค้าที่จะมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด    ซึ่งการจัดจำหน่ายนั้นต้องใช้ยานพาหนะต่างๆ ในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค
                   
     การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ที่ประกอบไปด้วยการโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public relation) การส่งเสริมการขาย (Sales promotion) การขายโดยใช้พนักงานขาย (Personal selling) และการตลาดทางตรง (Direct marketing) โดยใช้ทุกวิธีร่วมกันในการที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้บริโภค และผู้ประกอบการด้วยกันให้เกิดความใส่ใจอย่างจริงจัง กับสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ ความรู้สึกและพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อม
 
ลักษณะของการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมมีลักษณะดังนี้
     1. แสวงหากำไรอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แสวงหากำไรสูงสุด (Sustainable profit not maximized profit) 

     2. เป็นการแข่งขันกันแบบเกื้อกูลและเอื้ออาทรต่อกัน    ไม่ใช่แข่งเพื่อเอาชนะหรือทำลายคู่แข่งให้หมดสภาพ

     3. ทำเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและสังคม ไม่ใช่เพื่อลูกค้าเพียงอย่างเดียว (Customer and Social Benefit not only Customer) เพราะนอกจากธุรกิจจะต้องเสียภาษีแล้ว ยังจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมทุกปี เช่น จัดตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม

    4. ส่งเสริมให้ความรู้มิใช่เพื่อการขายเพียงอย่างเดียว หากลูกค้าไม่มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทำให้เกิดปัญหาเปลี่ยนสินค้า หรือไม่ได้นำไปใช้ต่อ ก็เท่ากับเป็นการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด
 
 ที่มา : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005july15p9.htm

- See more at: http://www.prosoftcrm.in.th/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=77&ArticleID=3556#sthash.HDCEtlqI.dpuf

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผลงานนักศึกษา วิชาเทคนิคการนำเสนอ

ทำไมต้องมีการตลาด

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตลาด

4 P's นั้นสำคัญแค่ไหน


4 P's ส่วนประสมทางการตลาด
 4Ps  เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการทำการตลาดของคุณ เป็นส่วนประกอบการทำการตลาดที่มีมานานแสนนาน แต่มีนักการตลาดไม่กี่คนเท่านั้นที่ใช้หลักการนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      ในการขายหรือทำการตลาดสินค้าปัจจุับันเน้นทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้สินค้าของตัวเองจำหน่ายออกไปจนทำให้ลืม นำเอาหลักการ 4Ps มาใช้ ซึ่งผมว่ามันน่าเสียดาย  ผมแนะนำให้คุณจูนสมองคุณใหม่และนำหลักปัจจัยดังกล่าวมาใช้เป็นองค์ประกอบในการทำการตลาดของคุณ ซึ่งผมจะอธิบายหลักการนี้ให้เห็นชัดเจนดังนี้

     P = Product  สินค้าของคุณ คุณรู้จักสินค้าของคุณมากน้อยแค่ไหน คุณได้ลองใช้สินค้าของคุณหรือยัง  มีนักขายหรือนักการตลาดส่วนมากยังไม่เคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ เลย พอลูกค้าสนใจสินค้า สอบถามมาก็ตอบแบบกุกๆ กักๆ ทำให้ไม่เกิดความมั่นใจกับลูกค้า จนลูกค้าต้องปฏิเสธการซื้อสินค้าจากคุณ และคุณก็กลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือไปเลย  ฉะนั้นสิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือ คุณต้องรู้จักจุดเด่นของสินค้าของคุณ ด้วยการลองใช้สินค้าของคุณเอง คุณจึงจะสามารถตอบคำถามของลูกค้าได้ด้วยความมั่นใจ

       P = Price ราคาสินค้าของคุณ เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของคุณหรือไม่ ความเหมาะสมคืออะไร   ผมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ราคาสำคัญกับการตัดสินใจซื้อของลูกค้าของคุณมากแค่ไหน คุณจะสามารถตั้งราคาได้สูงได้ก็ต่อเมื่อ คุณสามารถสร้างมูลค่าของสินค้าของคุณมากน้อยเพียงใด หากคุณสามารถแสดงให้ลูกค้าเห็นมูลค่าของสินค้าได้มาก คุณก็สามารถตั้งราคาสินค้าได้สูงมากเท่านั้น  ผมมีหลักอยู่ว่าการเสนอมูลค่าของสินค้าให้สูงๆ ได้นั้นคุณต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า  " สินค้าของคุณสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากเพียงใด "  คุณไม่ต้องลดราคาเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งหากคุณสามารถแสดงให้ลูกค้าเห็นได้ว่าเขาไ้ด้รับประโยชน์จากสินค้าของคุณมากมายนัก

        P = Place ลูกค้าเป้าหมายของคุณคือใคร  คุณมีวิธีจำหน่ายอย่างไรเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าของคุณได้มากที่สุด คุณจะจำหน่ายผ่านสื่อหรือช่องทางไหน ยกตัวอย่างเช่น ทาง Internet ด้วยการเปิดร้านออนไลน์  หรือการเปิดหน้าร้าน  การขายแบบตรงๆ เป็นต้น หาสักช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าคุณได้  นักขายหรือนักการตลาดบางคนไม่ได้วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายก่อนจำหน่าย ทำให้การขายสินค้าหรือลูกค้าเข้าถึงได้น้อย เหมือนกับนำสเต็กเนื้อ ไปขายให้กับคนกินมังสวิรัต เป็นต้น ขายแทบตาย คุณก็ขายไม่ได้จริงไหม

        P = Promotion คุณมีกลยุทธ์การส่งเสริมการขายอย่างไร วิธีการนี้ก็คือ คุณสามารถทำให้มูลค่าของสินค้าดูคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่ายให้คุณได้อย่างไร เช่น ขาย Computer แถม Ram ขาย Printer แถมหมึกพิมพ์อีก 1 ชุด พร้อมการรับประกันซ่อมฟรี 1 ปีเป็นต้น หรือขายรถก็อาจจะแถมประกันภัยชั้น 1 พร้อมเบาะหนังอย่างดี  และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะมีเป็นการให้สิ่งเพิ่มเติมกับสินค้าให้ลูกค้าที่ลูกค้าจะได้ตัดสินใจง่ายดายขึ้นในการซื้อ  และที่ระวังการสร้างมูลค่าเพิ่ม นั้นควรเพิ่มเติมสิ่งที่สอดคล้องกับสินค้าที่คุณทำการตลาด ไม่เช่นนั้นขายไม่ได้ ไม่รู้ด้วยน่ะครับ

     เป็นอย่างไรบ้างครับหลัก 4Ps บางคนเรียนมาก็ลืมไปแล้ว บางคนนำมาใช้แต่ไม่ได้ผลลองทำตามคำแนะนำในแต่ละหัวข้อ ที่ผมบรรยายและนำไปปรับใช้ ผมว่าการตลาดสินค้าของคุณดีขึ้นแ่น่นอน แต่ผมจะฝากไว้อีกข้อหนึ่งว่า การทำการตลาดต้องมีการคิด และปรับใช้ให้เข้ากับลูกค้า รวมถึงสถานการณ์ ณ ปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา  นักการตลาดต้องเป็นนักเคลื่อนไหว ไม่ใช่นักนั่งนิ่งๆๆๆ รอสวรรค์มาเกยน่ะครับ

การตลาดคืออะไร?


การตลาด คือ  กระบวนการของการสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการไปยังลูกค้า การตลาดอาจถูกตีความว่าเป็นศิลปะแห่งการขายสินค้าในบางครั้ง แต่การขายนั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของการตลาด
การตลาดอาจถูกมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์การและกลุ่มกระบวนการเพื่อการผลิต การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่าไปยังลูกค้า และการจัดการความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ในทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์การและผู้ถือหุ้น การจัดการการตลาดเป็นศิลปะของการเลือกตลาดเป้าหมาย ตลอดจนการได้มาและการรักษาลูกค้า ผ่านทางการจัดหาคุณค่าของลูกค้าที่เหนือกว่า
มีมโนทัศน์ห้าอย่างหลัก ๆ ที่องค์การสามารถเลือกเพื่อนำไปดำเนินการธุรกิจได้แก่ มโนทัศน์เน้นการผลิต เน้นผลิตภัณฑ์ เน้นการขาย เน้นการตลาด และเน้นการตลาดองค์รวม ซึ่งองค์ประกอบสี่อย่างของการตลาดองค์รวมคือ การตลาดความสัมพันธ์ การตลาดภายใน การตลาดครบวงจร และการตลาดรับผิดชอบต่อสังคม กลุ่มของภาระหน้าที่ที่สำคัญต่อการจัดการการตลาดที่ประสบผลสำเร็จประกอบไปด้วย การมองการตลาดเชิงลึก การติดต่อเชื่อมโยงกับลูกค้า การสร้างตราสินค้าที่มั่นคง การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองลูกค้า การส่งสินค้าและการสื่อสารคุณค่า การสร้างความเจริญเติบโตในระยะยาว และการพัฒนากลยุทธ์และแผนการตลาด